แนวคิดการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียว สำหรับอาคารศูนย์สำรองข้อมูลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต

แนวคิดการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวสำหรับอาคารศูนย์สำรองข้อมูลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต

      อาคารศูนย์สำรองข้อมูลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 4,400 ตารางเมตร และอยู่บนพื้นที่ดินโครงการขนาด 2 ไร่ 1 งานตั้งอยู่ภายในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิตเป็นอาคารที่สร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานสารสนเทศรวมถึงสนับสนุนงานบริการผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ออกแบบตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน Uptime Institute ไม่ต่ำกว่าระดับ Tier 3  ตามวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ความเป็นมาโครงการ

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตั้งเป้าที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากรโลก และลดปัญหาโลกร้อน จึงมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นสำนักงานสีเขียวในทุกสำนักงานทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งการเป็นอาคารเขียว (Green Building) จึงได้ออกแบบและก่อสร้างอาคารศูนย์สำรองข้อมูลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิตนี้ ตามหลักเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (Thai’s Ratings of Energy and Environmental Sustainability) สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ หรือ เกณฑ์ TREES-NC โดยตั้งเป้าขอรับการรับรองในระดับ Gold

ความหมายของอาคารเขียว (Green Building)

      อาคารเขียว (Green Building) คืออาคารที่ได้รับการออกแบบ ก่อสร้าง การใช้งานและบำรุงรักษา จนสิ้นสุดอายุขัยของอาคาร โดยคำนึงถึงความสมดุลยระหว่าง 3 มิติแห่งความยังยืน (Triple Bottom Line) ได้แก่ สังคม (Social) สิ่งแวดล้อม (Environmental) และเศรษฐกิจ (Economics) อาคารเขียวมีแนวคิดมุ่งเน้นการใช้ทรัพยการอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร และยังคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน ดังนั้นการนำแนวคิดอาคารเขียวไปใช้สำหรับการออกแบบ ก่อสร้างและใช้งานอาคาร จึงเป็นส่วนนึงที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร

แนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืนที่โดดเด่นของอาคารศูนย์สำรองข้อมูลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต

1. ผังบริเวณและภูมิทัศน์

โครงการฯ ตั้งอยู่บนเส้นทางที่มีรถสาธารณะผ่าน ช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมีพื้นที่เขียวและปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ ความรมรื่นและปรับปรุงระบบนิเวศน์เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังมีการใช้บล็อคหญ้าเพื่อเพิ่มการซึมน้ำฝนลดปัญหาน้ำท่วม และลดปรากฎการณ์เกาะความร้อนในเมืองจากการพัฒนาโครงการ 

2. การประหยัดน้ำ

โครงการฯ เลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ โดยโถสุขภัณฑ์เป็นชนิด Dual Flush มีอัตราการใช้น้ำเพียง 6/2 ลิตร/คน และก๊อกน้ำมีอัตราการใช้น้ำเพียง 0.9 ลิตร/นาที

3. พลังงานและบรรยากาศ

โครงการฯใช้อิฐมวลเบา กระจกฉนวนกันความร้อนที่มีช่องอากาศตรงกลาง (Insulated Glass) หลอดประหยัดไฟ LED และเครื่องทำน้ำเย็นและเครื่องปรับอากาศแบบน้ำยาผันแปรประสิทธิภาพสูง (VRF) ส่งผลให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 40% เมื่อคำนวณตามกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานและวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552

4. คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร

โครงการฯ ได้จัดให้มีการเติมอากาศบริสุทธิ์ตามมาตรฐาน ASHRAE 62.1 โดยผ่าน  Dedicated Outdoor Door Air Handling System  (DOAS) และใช้สี กาวและยาแนวที่มีปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ เพื่อสุขภาพของผู้ใช้อาคาร  นอกจากนี้ DOAS ยังช่วยรีดความชื้นของอากาศบริสุทธิ์ก่อนจ่ายเข้าพื้นที่ปรับอากาศทำให้ควบคุมความชื้นได้ดียิ่งขึ้นเพื่อสร้างภาวะสบายสำหรับผู้ใช้อาคาร

5. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการ ฯ ได้จัดให้มีห้องคัดแยกขยะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมรีไซเคิล เพื่อลดการฝังกลบ เผาทำลายขยะและลดการนำเข้าทรัพยากรกรใหม่ 

6. การออกแบบตามหลักการอารยสถาปัตย์ (Universal Design)

โครงการ ฯ มีการออกแบบโดยคำนึงหลักการออกแบบหลักการออกแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยจัดให้มีทางลาดเข้าอาคารสำหรับรถเข็น มีห้องน้ำสำหรับคนพิการ และที่จอดรถเฉพาะสำหรับคนพิการ